วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แผนภูมิวงรอบเหตุและผล (Causal Loop Diagram : CLD)


     แผนภูมิวงรอบเหตุและผล (Causal Loop Diagram : CLD)

แผนภูมิวงรอบเหตุและผล CLD จะทำให้มองเห็นความสัมพันธ์  และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่อาจจะเกิดขึ้นได้ประกอบด้วยหลายองค์ประกอบดังนี้
  1. วงรอบการป้อนกลับ 1 วงรอบ หรือ มากกว่า ซึ่งเป็นทั้งกระบวนการเสริมแรงและกระบวนการสร้างความสมดุล
  2. ความสัมพันธ์ของเหตุและผลกระทบระหว่างตัวแปรต่างๆ
  3. ความหน่วงของเวลา(Delays)คือ มีปัญหา(input)เข้ามา
การวาดปัญหาออกมาเป็นแผนภูมิ จะทำให้มองออกว่า อะไร Must know อะไร Should know
S = Same หรือ + (Positive)
O = Opposite หรือ – (Negative)
R = Reinforcing Loop วงรอบเสริมแรง
B = Balancing Loop วงจรปรับสมดุล
วงรอบเสริมแรงจะขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน
“การเขียนผังเชิงระบบ” (System Diagram/Casual loop)
  1. กำหนด ประเด็นปัญหาหลักให้ชัดเจน (ที่เรื้อรังและเกิดซ้ำ) และสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหา – อาการของปัญหา และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง
  2. ระบุ “ตัวแปรที่สำคัญ” ที่เป็นส่วนทำการขับเคลื่อนความเป็นไปของเหตุการณ์  โดยระบุชื่อให้ชัดเจนใช้คำพูดเป็นกลางหรือที่เป็นบวก
  3. ศึกษาพฤติกรรมโดยมองย้อนเวลาถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
  4. เขียนกราฟแสดงพฤติกรรมเทียบกับเวลา (BOT)
  5. ทบทวนความสัมพันธ์ของตัวแปร
  6. วาด ผังเชิงระบบ (System diagram)

“ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นไทย” 



วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การคิดเชิงระบบด้วย Spider Model


แนวคิดตามกรอบโมเดล SPIDER MODEL
     เป็นการนำเสนอแนวคิดทางธุรกิจไว้ใน 1 หน้ากระดาษ เพื่อให้เห็นภาพไอเดียธุรกิจที่ชัดเจนและเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพัฒนามาจาก Business Canvas* และ Lean Canvas การนำเสนอภายใต้กรอบโมเดลนี้จะทำให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนสามารถวิเคราะห์ภาพรวมของความเป็นไปได้ทางธุรกิจ โดยวิเคราะห์ตามขั้นตอนในการคิดแบบเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ และสามารถประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น คือ 1. Product Risk
                          2. Customer Risk
                          3. Market Risk
                          4. Financial Risk 
          รวมถึงการประเมินร่วมกับปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรค เพื่อวิเคราะห์ว่าแนวคิดที่ผู้ประกอบการนำเสนอมีความเป็นไปได้ (Feasibility) ภายใต้สถานการณ์ ณ ปัจจุบันมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตามระดับของความเป็นไปได้ย่อมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนักลงทุน แต่ละคนว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหนเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับ โมเดลนี้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการได้นำเสนอแนวคิดที่นอกจากจะเห็นภาพไอเดียของตัวธุรกิจแล้ว ยังครอบคลุม ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอย่างครบถ้วน รวมทั้งช่วยให้เห็นภาพด้านผลตอบแทนและความเสี่ยงของธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วยคำอธิบายตามกรอบSPIDER MODEL

สินค้าและบริการ : ประเภทของผลิตภัณฑ์และบริการที่ต้องการนำเสนอ  
          1. ปัญหาของลูกค้า (Problem) : เป็นการคิดโดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นที่ตั้ง (ที่เรียกว่าCustomer Development) โดยระบุปัญหาที่ลูกค้าเจอคืออะไร ผู้ประกอบการจะสามารถวิเคราะห์ได้ถึงขนาดของตลาดว่าใหญ่หรือเล็กเพียงใด ได้โดยประมาณการจากจำนวนของลูกค้าที่ต้องเจอกับปัญหาดังกล่าว
          2. ทางออกของปัญหา (Solution) : สินค้าของเราสามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้อย่างไร เป็นการนำเสนอทางเลือกในการออกจากปัญหาด้วยวิธีการที่แตกต่างจากสินค้าเดิมในตลาด เพื่อให้เข้าถึงโอกาสทางการตลาดและการเติบโตของธุรกิจในอนาคต
          3. คุณค่าของสินค้าที่นำเสนอ (Unique Value Proposition) : คุณค่าหลักของสินค้าและบรกิารที่ต้องการนำเสนอ จะเห็นว่าใช้คำว่า Unique คือเป็นคุณค่าหลักที่ต้องแตกต่างจากคู่แข่งหรือสินค้าที่มีในตลาด
          4. กลุ่มเป้าหมาย (Target Customer) : การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าของธุรกิจ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ยอมควักเงินซื้อสินค้าและบริการของเรา
          5. ช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (Channel) : วิธีการที่จะนำสินค้าให้เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงการกระจายสินค้า ซึ่งอาจทำได้หลากหลายวิธี
          6. ทรัพยากรหลักที่มี (Key Resource) : ซึ่งเป็นได้ทั้ง คน ทรัพย์สิน ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นทรัพยากรที่มีและใช้สร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้กับธุรกิจได้ หรือเป็นทรัพยากรที่ช่วยสนับสนุนให้แผนธุรกิจดังกล่าวมีความเป็นไปได้ ลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการและนักลงทุน
          7. กิจกรรมหลักของธุรกิจ (Key Activities) : เป็นการดำเนินงานหลักของธุรกิจที่จะทำให้เกิดUnique Value Proposition ในสินค้าและบริการ เรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมที่จะทำให้โมเดลนี้ทำงานก็ว่าได้
          8. กระแสรายได้ (Revenue Stream) : ช่องทางของรายได้ที่เข้ามา ให้เห็นความชัดเจนว่าธุรกิจจะมีรายได้จากช่องทางไหน อย่างไร และเท่าไร
          9. ต้นทุน (Cost Structure) : ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจคืออะไรและเท่าไร ทั้งส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และต้นทุนผันแปร (Variable Cost)
          10. จุดคุ้มทุน (Break Event) : การประมาณการถึงจุดที่ธุรกิจสามารถทำกำไรได้เท่ากับต้นทุนที่ลงไป อาจเป็นจำนวนชิ้น หรือเป็นระยะเวลา เพื่อให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนใช้เป็นแนวทางในการวางแผนด้านการเงินให้เหมาะสม
          11. 4 กรอบสุดท้าย คือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจ เพื่อประเมินว่าธุรกิจมีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่ต้องพบอย่างไรบ้าง

โครงการ สลัดผักออร์แกนิก


วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เครื่องมือการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหาลำดับที่ 8 Dynamic Thinking : BOT. การเขียนกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง (Drawing Behavior Over Time Graphs)

        กราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง หมายถึง การคิดอย่างเป็นขั้นตอนด้วยแสดงพฤติกรรมของ ตัวแปรในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อมองเห็นทิศทาง แนวโน้ม รูปแบบการเปลี่ยนแปลง น าไปสู่การช่วยคิด สมมติฐานในการหาความสมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ

องค์ประกอบของกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง
 1. แนวนอนเป็นมิติเวลา คือ สิ่งที่แสดงช่วงเวลาการเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น ปี พ.ศ., เดือน ปี, วัน เวลา เป็นต้น
 2. แนวตั้งเป็นมิติปริมาณ คือ สิ่งที่แสดงถึง
สาระของประเด็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลานั้น ๆ
การเขียนกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง (Drawing Behavior Over Time Graphs)
 1. จุดเริ่มต้น หรือจุดปัญหาของสิ่งที่เกิดขึ้น
 2. จุดก่อนหน้าปัจจุบัน (อดีต)
 3. จุดปัจจุบัน
 4. จุดอนาคต (เพื่อการทำนาย)

ตัวอย่าง 
กราฟพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินภายใต้ช่วงเวลา 1 เดือน



เครื่องมือการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหาลำดับที่ 7 ปิรามิด IPESA

ความหมายของปิรามิด IPESA  
             ปิรามิด IPESA หมายถึง แผนภาพรูปทรงสามเหลี่ยมที่แสดงถึงการเชื่อมโยงและ ความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบของกระบวนการคิด และแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยประกอบด้วยประเด็นใน การคิดอย่างเป็นระบบ โดยมี 5 องค์ประกอบตามตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวแรก เป็น IPESA ได้แก่ I = Ideal Situation, P = Present Condition, E = Existing Problems, S=Solution Problems และ A=Aims of Solution

รายละเอียดขององค์ประกอบปิรามิด IPESA 
      องค์ประกอบที่ 1 Ideal Situation คือ การเขียนหรือวิเคราะห์สังเคราะห์ความคิดจากสิ่งที่คาดหวัง สภาพที่พึงประสงค์ ของประเด็นนั้น ๆ ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์จากนโยบาย หรือแผนงานของเรื่องราวที่เกิดขึ้น เช่น นโยบายสุขภาพดีถ้วนหน้า หรือสิ่งที่เกิดจากหน่วยงาน นโยบายรัฐบาล เป็นต้น โดยควรมีการอ้างอิง และ ระบุแหล่งที่มาของความคาดหวังดังกล่าว
       องค์ประกอบที่ 2 Present Condition คือ สภาพปัจจุบันของสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยอาจเขียน เป็นลำดับข้อเพื่อเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่าง ๆ
       องค์ประกอบที่ 3 Existing Problems คือ สภาพปัญหาของประเด็นที่กำลังเกิดขึ้นโดยสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับสภาพปัจจุบันในองค์ประกอบที่ 2
        องค์ประกอบที่ 4 Solution Problems คือ การแก้ไขปัญหา โดยเป็นประเด็นการแก้ไขนั้นต้อง สัมพันธ์และเชื่อมโยงกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
         องค์ประกอบที่ 5 Aims of Solution คือ วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา ว่าอยากให้ เกิดวิธีการแก้ไขปัญหาอะไรบ้าง

ตัวอย่าง ความมีวินัย กับการใส่ใจคนรอบข้าง